
Study in USA
ข้อมูลทั่วไปประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา ทิศใต้ติดต่อกับประเทศเม็กซิโก และอ่าวเม็กซิโกทิศตะวันออกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิก สหรัฐอเมริกามีขนาดกว้างใหญ่ไพศาล การเดินทางจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกโดยทางรถยนต์ใช้เวลาเกือบ 4 วัน หรือ 5-6 ชั่วโมง โดยสายการบินพาณิชย์สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจาก รัสเซีย และ แคนาดา หรือใหญ่กว่าจีนเล็กน้อย
เมืองหลวง : Washington D.C. District of Columbia
เมืองสำคัญ : New York, Los Angeles, Chicago และ San Francisco
เมืองท่า : Los Angeles, Long Beach, New York, New Orleans, Houston, Seattle และ Miami


สภาพภูมิอากาศ
ประเทศสหรัฐอเมริกา มี 4 ฤดู อุณหภูมิในแต่ละรัฐจะแตกต่างกันออกไป คือ
ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) : ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 9 – 23 องศา
ฤดูร้อน (Summer) : ช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 20 – 34 องศา
ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) : ช่วงเดือนกันยายน – พฤสจิกายน อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 7 – 25 องศา
ฤดูหนาว (Winter) : ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ -12 ถึง -8 องศา
เวลา
เวลาในแต่ละภูมิภาค แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ ดังนี้
1. ภาคตะวันออก (Eastern) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 12 ชม. เช่น เมือง Boston, D.C., NY
2. ภาคกลาง (Central) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 13 ชม. เช่น เมือง Chicago
3. เขตภูเขา (Mountain) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 14 ชม. เช่น เมือง Denver, Phoenix
4. เขตมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 15 ชม. เช่น เมือง Seattle
สกุลเงิน
สกุลเงินประจำชาติสหรัฐอเมริกา คือ ดอลลาร์ (US Dollar, USD, US$) โดยที่ $1 จะเท่ากับ 100 เซ็นต์ (Cents)
*ชื่อเล่นที่ชาวสหรัฐอเมริกาเรียกเงินในแต่หน่วย*
• 1 เซนต์ เรียกว่า เพนนี (Penny)
• 5 เซนต์ เรียกว่า นิกเกิล (Nickel)
• 10 เซนต์ เรียกว่า ไดม์ (Dime)
• 25 เซนต์ เรียกว่า ควอเตอร์ (Quarter)
• 100 เซนต์ หรือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า บั๊ก (Buck)
• 1000 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า แกรนด์ (Grand)


ระบบไฟฟ้า
สหรัฐอเมริกามีระบบไฟฟ้าแบบ 120 V 60Hz ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ถ้านักศึกษาต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปก็จำเป็นต้องหาซื้อเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Adapter) ไปด้วย หัวปลั๊กไฟเป็นแบบ Type A และ B
ระบบนํ้าประปา
ระบบนํ้าประปาของสหรัฐอเมริกานั้นมีมาตรฐานสูงซึ่งประชาชนสามารถดื่มนํ้าประปาจากก๊อกนํ้าได้โดยไม่จำเป็นต้องนำนํ้าไปต้มแต่อย่างใด ยํ้าว่าต้องเป็นนํ้าเย็นเท่านั้นที่ดื่มจากก๊อกได้
อาหาร
อาหารหลักจะคล้ายกับในประเทศตะวันตกอื่นๆ ข้าวสาลีเป็นธัญพืชหลัก อาหารอเมริกันแบบดั้งเดิมใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไก่งวง, กวาง, มันฝรั่ง, มันเทศ, ข้าวโพด,
สควอช และ น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ซึ่งได้รับการบริโภคโดยชาวอเมริกันพื้นเมืองและพวกตั้งถิ่นฐานจากยุโรปในช่วงต้น
• เนื้อหมูและบาร์บีคิวเนื้อที่ปรุงสุกช้า, เค้กปู, มันฝรั่งทอด, และคุกกี้ช็อกโกแลตชิป เป็นอาหารอเมริกันที่โดดเด่น อาหารจิตวิญญาณ ที่ถูกพัฒนาโดยทาสแอฟริกัน เป็นที่นิยมทั่วภาคใต้ และ ในหมู่ชาวแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากทุกหนแห่ง อาหารปรุงรวม เช่น หลุยเซียนา ครีโอล, Cajun และ Tex- Mex มีความสำคัญในระดับภูมิภาค
• อาหารเป็นจาน เช่น พายแอปเปิ้ล, ไก่ทอด, พิซซ่า, แฮมเบอร์เกอร์ และ hot dogs เป็นผลมาจากสูตรของผู้อพยพต่างๆ มันฝรั่งทอด, อาหารเม็กซิกัน เช่น Burritos และ ทาโก้ และ จาน พาสต้า ได้ปรับตัวอย่างอิสระจากแหล่งที่มาคืออิตาลี ได้มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ชาวอเมริกันมักชอบกาแฟ มากกว่าชา การตลาดโดยอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา รับผิดชอบอย่างมากสำหรับการทำน้ำส้มและนม และเครื่องดื่มอาหารเช้า
การติดต่อสื่อสาร
**ตำรวจ ดับเพลิง ฉุกเฉินอื่น ๆ กดเบอร์ 911**
สามารถนำมือถือจากไทยมาใช้ได้ถ้าเครื่องไม่ล็อค โดยสามารถซื้อซิมการ์ดที่อเมริกาได้เลย มีให้เลือกหลายเครือข่ายทั้ง AT&T Verizon และ T-mobile ฯลฯ ก่อนซื้อซิมการ์ดควรถามว่าใช้อินเตอร์เนตได้ไหม รูปแบบการคิดค่าบริการ (Plan) แบ่งได้ 4 ประเภท
1. แบบครอบครัว คือการ share ค่าใช้โทรศัพท์กันได้ระหว่างเบอร์ 2 เบอร์ขึ้นไป
2. แบบเฉพาะของส่วนบุคคล (Individual)
3. แบบเติมเงิน เหมือนในเมืองไทย (Pre-paid) ข้อดีคือ ไม่ต้องทำสัญญา ไม่ต้องใช้เงินวางมัดจำ ไม่ต้องผูกกับบัญชีใช้เช็ค แต่ถ้าไปเรียนต่อและนำครอบครัวไปด้วย จะเสียประโยชน์ในเรื่องไม่ได้ราคาพิเศษแบบครอบครัว
4. แบบรายเดือน (Post-paid) การจ่ายค่าโทรศัพท์แบบ Post-paid ต้องมี Social Security Number (SSN) แสดงในการสมัคร หากไม่มี SSN ไม่สามารถสมัครได้ ค่าบริการถูก เช่น ของ AT&T กำหนดไว้ว่า ตั้งแต่ 3 ทุ่มถึง 6โมงเช้าไม่คิดค่าบริการและวันเสาร์-อาทิตย์โทรฟรี (ต้องโทรในเครือข่ายเดียวกัน)


การเดินทาง
โดยส่วนใหญ่แล้ว เมืองที่นักเรียนนักศึกษานิยมไปศึกษาต่อ จะมีระบบคมนาคมสาธารณะที่สะดวก และมีบริการให้เลือกหลากหลาย ตัวอย่างเช่น รถไฟ รถประจำทาง แท็กซี่ รถราง รถไฟฟ้า ซึ่งบริการเหล่านี้ จะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า สถาบันที่นักเรียนเลือกไปเรียนต่อ อยู่ใกล้กับตัวเมืองหรือแหล่งชุมชนมาก น้อยเพียงใด
รายละเอียดข้อมูลวีซ่า
วีซ่านักเรียน F-1
เป็นวีซ่าหลักที่ออกให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาต่างชาติทีต้องการศึกษาต่อในระบบการศึกษาของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรภาษา ซึ่งบังคับต้องเรียนเต็มเวลาเท่านั้น
เงื่อนไขวีซ่าวีซ่านักเรียน
• เดินทางเข้า US ก่อนเริ่มคอร์สเรียนได้ไม่เกิน 30 วัน
• ต้องเรียนเต็มเวลา
• หลังเรียนจบอยู่ต่อได้ไม่เกิน 60 วันนับจากวันหมดอายุ I-20
• จะได้ 1 year แม้วีซ่าหมดแล้ว ก็อยู่ต่อได้ด้วย I-20 ที่ยังไม่หมดอายุ
• Multiple Entry ออกจาก US และขาดเรียนได้ไม่เกิน 5 เดือน หากเกินจะเสียสิทธิ์วีซ่า F-1 และต้องสมัครใหม่
• หากกลับไทยในช่วงที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ต้องต่ออายุวีซ่าที่ไทยก่อน


วีซ่า F-1ทำงานได้หรือไม่?
ทำงานได้เฉพาะนักเรียนหลักสูตรปริญญา นักเรียนภาษาทำงานไม่ได้ แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ On-campus Work, CPT, OPT และ OPT Extension
On-campus Work
คือการทำงาน part-time ในสถานศึกษาที่เรียนอยู่เท่านั้น
• ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำงานกับบริษัทอื่นได้
• ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับสาขาที่เรียน เช่น ทำงาน Starbucks ในมหาวิทยาลัย หรือในห้องสมุด
• สามารถเริ่มทำงานได้ตั้งแต่เดือนแรกที่เข้าไปเรียน
CPT (Curricular Practical Training)
คือการฝึกงานที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน งานที่สามารถทำได้ต้องตรงตามหลักสูตรที่ลงทะเบียน
• ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนในหลักสูตรของสถานศึกษามาแล้วอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
• เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยจะได้ I-20 หน้าที่ 2 ซึ่งจะมีข้อมูลของบริษัทที่จะฝึกงาน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าจะเปลี่ยนต้อง ทำเรื่องขอใหม่กับทางมหาวิทยาลัย
• ทำ CPT ได้ไม่เกิน 12 เดือน หากทำ CPT ครบแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิ์ฝึกงานหลังจบการศึกษา (OPT)ได้
OPT (Optional Practical Training)
สำหรับฝึกงานระหว่างเรียนแต่ไม่มีวิชา internship หรือ หลังจากเรียนจบปริญญา
โดยให้นักศึกษาแจ้งความจำนงในการฝึกงานกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อขอ I-20 ตัวใหม่ที่ระบุ OPT Recommendation แล้วส่งเอกสารพร้อม Form I-765 ทางไปรษณีย์ไปยัง U.S. Citizenship and Immigration Service เพื่อขอ Employment Authorization Card
1. Pre-Completion OPT
สำหรับนักศึกษาฝึกงานระหว่างเรียน สมัครได้ตั้งแต่จบการศึกษาปีที่ 1 แต่ไม่ต้องลงทะเบียนเหมือน CPT
• เทอม Fall/Spring ทำเป็น part-time (ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) เทอม Summer เลือกได้ว่าจะทำ part-time หรือ full-time
• เลือกวันเริ่ม – วันสุดท้ายของการฝึกงานได้เอง
• หากจะกลับไทยระหว่างนี้ต้องมี F-1 ที่ยังไม่หมดอายุ และ I-20 ที่เซ็นต์ไว้ไม่เกิน 12 เดือน
2. Post-Completion OPT
สำหรับนักศึกษาฝึกงานหลังเรียนจบแล้ว สมัครได้ตั้งแต่ 1-2 เดือนก่อนจบการศึกษา จะได้ EAD card (Employment Authorization Card คล้ายๆ work permit) 12 เดือน
• ทำแบบ full-time เท่านั้น และต้องรายงานกับมหาวิทยาลัยตลอด เช่น ได้งาน ออกจากงาน บริษัทเปลี่ยนที่อยู่ ต้องรายงาน ภายใน 10 วันหลังการเปลี่ยนแปลง
• เริ่มทำงานได้ตามวันที่ระบุไว้ใน EAD card นักศึกษาเป็นคนระบุวัน เอง
• ต้องหางานให้ได้ภายใน 90 วันหลังจากได้รับเอกสาร มิเช่นนั้นวีซ่านักเรียน จะ ถูกตัดทันที และห้ามว่างงานรวมกันเกิน 90 วัน
• หากจะกลับไทยระหว่างนี้ต้องมี F-1 ที่ยังไม่หมดอายุ และ I-20 ที่เซ็นต์ไว้ไม่เกิน 6 เดือน EAD card ที่ไม่หมดอายุ และ Job Verification จากบริษัท

OPT Extension
หากอยู่ครบ 12 เดือนแล้วได้อยู่ทำงานต่อ มี 2 กรณี คือ STEM และ Cap-Gap
1. STEM สำหรับนักศึกษาสาขา Science, Technology, Engineering และ Mathematics มีสิทธิ์ทำงานต่อได้อีก 24 เดือน
• ต้องเป็นนักเรียนที่จบจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองสถาบันศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่รับรองโดย SEVP (Student and Exchange Visitor Program) ด้วย
• ใช้ปริญญาใบเดิมในการต่อ และปริญญาใบที่ 2 สามารถต่อ STEM OPT ได้ถึง 2 ครั้ง
ข้อมูล STEM OPT Extension : https://studyinthestates.dhs.gov/stem-opt-extension-overview
2. Cap-Gap ช่วงรอยต่อระหว่างเปลี่ยนวีซ่าจาก F-1 เป็น H-1B (วีซ่าสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ) นายจ้างเป็นผู้เตรียมเอกสารยื่นคำร้อง เริ่มงานได้วันที่ 1 ตุลาคม หากวีซ่าของผู้สมัครหมดอายุก่อนวันที่ 1 ตุลาคม ต้องเดินทางออกนอก US และต่อวีซ่าที่ประเทศของตน ข้อมูล Cap-Gap : https://govisa.wordpress.com/tag/cap-gap/

วีซ่านักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยน
วีซ่าประเภท J ของโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคคล ความรู้ และทักษะทั้งในด้านการศึกษา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้แก่ นักเรียนในทุกระดับการศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกงานภาคปฏิบัติตามบริษัท สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ โครงการที่นักเรียนไทยนิยม ได้แก่ Work and Travel, Au Pair และนักเรียนแลกเปลี่ยนระดับมัธยม
เงื่อนไขวีซ่าวีซ่านักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยน
• อายุ 15 – 18 ปี ณ วันแรกของการเปิดภาคเรียน
• อยู่กับ Host Family เท่านั้น ห้ามอยู่กับญาติ
• 1 Year Visa
• เข้า US ได้ก่อน 30 วันก่อนการเริ่มเรียนและอยู่ต่อได้อีก 30 วันหลังจากวันที่ระบุไว้ใน DS-2019*
• No Work ยกเว้นงานเล็กน้อย ที่ไม่ใช่ part-time เช่น ตัดหญ้าให้ข้างบ้าน หรือ babysitter
• หากได้เกรดต่ำกว่า C หรือไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ อาจถูกพิจารณาถอนวีซ่า
* DS-2019 เป็นเอกสารทางองค์กรที่อเมริกาออกให้แก่นักเรียนเพื่อขอวีซ่า และเปรียบเหมือนบัตรประจำตัวนักเรียน
วีซ่าท่องเที่ยวและธุรกิจ B-1/B-2
วีซ่าเยี่ยมเยียน B-1/B-2 เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกาชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (B-1) เพื่อพักผ่อน หรือเข้ารับการรักษาด้านการแพทย์ (B-2) โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าชนิด B-1 เป็นวีซ่าสำหรับผู้เดินทางที่ต้องติดต่อกับผู้ร่วมงาน ผู้เข้าประชุมเชิงวิทยาศาสตร์ การศึกษา อาชีพ และธุรกิจ การจัดการสินทรัพย์ หรือต่อรองสัญญา วีซ่าชนิด B-2 สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางเพื่อการพักผ่อน การท่องเที่ยว เยี่ยมเยียนเพื่อนฝูงหรือญาติ การรักษาด้านการแพทย์ และการเข้าร่วมงานการกุศล กิจกรรมเพื่อสังคม หรือกิจกรรมด้านการบริการ วีซ่า B-1 และ B-2 มักจะออกร่วมกันเป็นวีซ่าเดียว เป็นวีซ่าชนิด B-1/B-2
เงื่อนไขวีซ่าวีซ่าท่องเที่ยวและธุรกิจ
• Multiple Entry
• No Work
• 10 years Visa, maximum stay 6 months


10AM - 7PM
Chennai

10AM - 7PM
Manchester, UK