
Study in USA
ข้อมูลทั่วไปประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา ทิศใต้ติดต่อกับประเทศเม็กซิโก และอ่าวเม็กซิโกทิศตะวันออกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิก สหรัฐอเมริกามีขนาดกว้างใหญ่ไพศาล การเดินทางจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกโดยทางรถยนต์ใช้เวลาเกือบ 4 วัน หรือ 5-6 ชั่วโมง โดยสายการบินพาณิชย์สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจาก รัสเซีย และ แคนาดา หรือใหญ่กว่าจีนเล็กน้อย
เมืองหลวง : Washington D.C. District of Columbia
เมืองสำคัญ : New York, Los Angeles, Chicago และ San Francisco
เมืองท่า : Los Angeles, Long Beach, New York, New Orleans, Houston, Seattle และ Miami


สภาพภูมิอากาศ
ประเทศสหรัฐอเมริกา มี 4 ฤดู อุณหภูมิในแต่ละรัฐจะแตกต่างกันออกไป คือ
ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) : ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 9 – 23 องศา
ฤดูร้อน (Summer) : ช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 20 – 34 องศา
ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) : ช่วงเดือนกันยายน – พฤสจิกายน อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ 7 – 25 องศา
ฤดูหนาว (Winter) : ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิโดยทั่วไปประมาณ -12 ถึง -8 องศา
เวลา
เวลาในแต่ละภูมิภาค แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ ดังนี้
1. ภาคตะวันออก (Eastern) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 12 ชม. เช่น เมือง Boston, D.C., NY
2. ภาคกลาง (Central) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 13 ชม. เช่น เมือง Chicago
3. เขตภูเขา (Mountain) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 14 ชม. เช่น เมือง Denver, Phoenix
4. เขตมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific) : เวลาช้ากว่าประเทศไทย 15 ชม. เช่น เมือง Seattle
สกุลเงิน
สกุลเงินประจำชาติสหรัฐอเมริกา คือ ดอลลาร์ (US Dollar, USD, US$) โดยที่ $1 จะเท่ากับ 100 เซ็นต์ (Cents)
*ชื่อเล่นที่ชาวสหรัฐอเมริกาเรียกเงินในแต่หน่วย*
• 1 เซนต์ เรียกว่า เพนนี (Penny)
• 5 เซนต์ เรียกว่า นิกเกิล (Nickel)
• 10 เซนต์ เรียกว่า ไดม์ (Dime)
• 25 เซนต์ เรียกว่า ควอเตอร์ (Quarter)
• 100 เซนต์ หรือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า บั๊ก (Buck)
• 1000 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า แกรนด์ (Grand)


ระบบไฟฟ้า
สหรัฐอเมริกามีระบบไฟฟ้าแบบ 120 V 60Hz ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ถ้านักศึกษาต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปก็จำเป็นต้องหาซื้อเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Adapter) ไปด้วย หัวปลั๊กไฟเป็นแบบ Type A และ B
ระบบนํ้าประปา
ระบบนํ้าประปาของสหรัฐอเมริกานั้นมีมาตรฐานสูงซึ่งประชาชนสามารถดื่มนํ้าประปาจากก๊อกนํ้าได้โดยไม่จำเป็นต้องนำนํ้าไปต้มแต่อย่างใด ยํ้าว่าต้องเป็นนํ้าเย็นเท่านั้นที่ดื่มจากก๊อกได้
อาหาร
อาหารหลักจะคล้ายกับในประเทศตะวันตกอื่นๆ ข้าวสาลีเป็นธัญพืชหลัก อาหารอเมริกันแบบดั้งเดิมใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไก่งวง, กวาง, มันฝรั่ง, มันเทศ, ข้าวโพด,
สควอช และ น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ซึ่งได้รับการบริโภคโดยชาวอเมริกันพื้นเมืองและพวกตั้งถิ่นฐานจากยุโรปในช่วงต้น
• เนื้อหมูและบาร์บีคิวเนื้อที่ปรุงสุกช้า, เค้กปู, มันฝรั่งทอด, และคุกกี้ช็อกโกแลตชิป เป็นอาหารอเมริกันที่โดดเด่น อาหารจิตวิญญาณ ที่ถูกพัฒนาโดยทาสแอฟริกัน เป็นที่นิยมทั่วภาคใต้ และ ในหมู่ชาวแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากทุกหนแห่ง อาหารปรุงรวม เช่น หลุยเซียนา ครีโอล, Cajun และ Tex- Mex มีความสำคัญในระดับภูมิภาค
• อาหารเป็นจาน เช่น พายแอปเปิ้ล, ไก่ทอด, พิซซ่า, แฮมเบอร์เกอร์ และ hot dogs เป็นผลมาจากสูตรของผู้อพยพต่างๆ มันฝรั่งทอด, อาหารเม็กซิกัน เช่น Burritos และ ทาโก้ และ จาน พาสต้า ได้ปรับตัวอย่างอิสระจากแหล่งที่มาคืออิตาลี ได้มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ชาวอเมริกันมักชอบกาแฟ มากกว่าชา การตลาดโดยอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา รับผิดชอบอย่างมากสำหรับการทำน้ำส้มและนม และเครื่องดื่มอาหารเช้า
การติดต่อสื่อสาร
**ตำรวจ ดับเพลิง ฉุกเฉินอื่น ๆ กดเบอร์ 911**
สามารถนำมือถือจากไทยมาใช้ได้ถ้าเครื่องไม่ล็อค โดยสามารถซื้อซิมการ์ดที่อเมริกาได้เลย มีให้เลือกหลายเครือข่ายทั้ง AT&T Verizon และ T-mobile ฯลฯ ก่อนซื้อซิมการ์ดควรถามว่าใช้อินเตอร์เนตได้ไหม รูปแบบการคิดค่าบริการ (Plan) แบ่งได้ 4 ประเภท
1. แบบครอบครัว คือการ share ค่าใช้โทรศัพท์กันได้ระหว่างเบอร์ 2 เบอร์ขึ้นไป
2. แบบเฉพาะของส่วนบุคคล (Individual)
3. แบบเติมเงิน เหมือนในเมืองไทย (Pre-paid) ข้อดีคือ ไม่ต้องทำสัญญา ไม่ต้องใช้เงินวางมัดจำ ไม่ต้องผูกกับบัญชีใช้เช็ค แต่ถ้าไปเรียนต่อและนำครอบครัวไปด้วย จะเสียประโยชน์ในเรื่องไม่ได้ราคาพิเศษแบบครอบครัว
4. แบบรายเดือน (Post-paid) การจ่ายค่าโทรศัพท์แบบ Post-paid ต้องมี Social Security Number (SSN) แสดงในการสมัคร หากไม่มี SSN ไม่สามารถสมัครได้ ค่าบริการถูก เช่น ของ AT&T กำหนดไว้ว่า ตั้งแต่ 3 ทุ่มถึง 6โมงเช้าไม่คิดค่าบริการและวันเสาร์-อาทิตย์โทรฟรี (ต้องโทรในเครือข่ายเดียวกัน)


การเดินทาง
โดยส่วนใหญ่แล้ว เมืองที่นักเรียนนักศึกษานิยมไปศึกษาต่อ จะมีระบบคมนาคมสาธารณะที่สะดวก และมีบริการให้เลือกหลากหลาย ตัวอย่างเช่น รถไฟ รถประจำทาง แท็กซี่ รถราง รถไฟฟ้า ซึ่งบริการเหล่านี้ จะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า สถาบันที่นักเรียนเลือกไปเรียนต่อ อยู่ใกล้กับตัวเมืองหรือแหล่งชุมชนมาก น้อยเพียงใด

Statue of Liberty
เทพีเสรีภาพน่าจะเป็นสิ่งแรกที่คนนึกถึงเลยเมื่อพูดถึงนิวยอร์กหรืออเมริกา เทพีตั้งอยู่บนเกาะลิเบอร์ตี (Liberty Island) โดยเทพีมือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ เป็นสถานที่ที่ต้องมาให้ได้เมื่อมาถึงนิวยอร์ก ถ้าจะไปดูเทพีแบบใกล้ๆ ต้องนั่งเรือเฟอร์รี่ไปที่เกาะลิเบอร์ตี คุณสามารถจองตั๋วเรือล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ได้ แล้วเลือกขึ้นเรือจากท่าเรือใน37นิวยอร์ก ซึ่งตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ Battery Park

Time Square
ไทม์สแควร์เป็นเหมือนศูนย์กลางของมหานครนิวยอร์ก โดยตั้งอยู่ในเกาะแมนฮัตตัน จัตุรัสแห่งนี้ถูกเรียกด้วยชื่อไทม์สแควร์ตอนที่หนังสือพิมพ์ New York Times มาก่อตั้งสำนักงานใหญ่ที่นี่ในปี 1904 พื้นที่แห่งนี้อัดแน่นไปด้วยผู้คนตลอดเวลาถือเป็นสีสัน และชีวิตชีวาให้กับนิวยอร์ก มีโรงภาพยนตร์ และร้านค้า local และแบรนด์เนมต่างๆ มากมาย รวมไปถึงป้ายโฆษณา และยังเป็นสถานที่จัดอีเว้นท์ต่างๆ ตลอดปี

Brooklyn Bridge
สะพานบรูคลินเชื่อมระหว่างเกาะแมนฮัตตัน และบรูคลิน ทั้งยังเป็นสะพานแขวนที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา ประวัติยาวนานกว่า 100 ปี นอกจากนี้ที่สะพานแห่งนี้ยังเป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์ชื่อดังอีกมากมาย เช่น “Godzilla”, “In Magic”, “I am Legend” และ “Step Up” 86I สามารถเดินขึ้นไปสะพานได้เลย อาจจะเหนื่อยหน่อยแต่ว่ารูป และวิวที่ได้คุ้มค่าแน่นอน

Boston Public Garden
สวนสาธารณะประจำเมืองบอสตัน เป็นสวนสาธารณะที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของบอสตัน ภายในนั้นสวยงามเป็นอย่างมาก ในบ่อนํ้ามีหงส์อาศัยอยู่หนึ่งคู่ แถมยังมีเรือหงส์ให้ได้นั่งไปตามบ่อนํ้าเพื่อชมบรรยากาศของสวนได้อีกด้วย หากใครชอบเดินในสวนก็มีเส้นทางให้เดินเล่นไปตามจุดต่างๆ นักท่องเที่ยวและชาวบอสตันมักจะไปใช้เวลาพักผ่อนกันที่สวนสาธารณะแห่งนี้ ทำให้สามารถเห็นวิถีชีวิตสบายๆ ของชาวบอสตันกันได้ที่นี่ นอกจากนี้ ภายในยังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา รวมถึงอนุสาวรีย์น่าสนใจอื่นๆ ที่สามารถแวะไปชมและถ่ายรูปได้อีกด้วย

Fenway Park
สนามแข่งเบสบอลไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการสัมผัสความเป็นบอสตันจากการแข่งขัน โดยการถือตั๋วเข้าชมการแข่งขันเบสบอลที่ Fenway Park Fenway Park ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นของ Boston Red Sox เป็นสนามเบสบอลที่เป็นที่รักที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในประเทศ

Hollywood Sign
ฮอลลีวูดไซน์ หรือป้ายฮอลลีวูด ตั้งอยู่บนภูเขาลีในฮอลลีวูดฮิลล์บนเขตพื้นที่ของเทือกเขาซานตาโมนิก้า ซึ่งเป็นหนึ่งแลนด์มาร์คยอดฮิตสำหรับผู้คนที่แวะเวียนมายังเมืองนี้ ป้ายฮอลลีวูดสามารถมองเห็นได้จากทุกมุมในตัวเมืองลอสแอนเจลิส แต่นอกจากจะถ่ายรูปจากระยะไกลแล้ว ใครอยากจะไปถ่ายรูปใกล้ๆ กับป้ายฮอลลีวูดได้ไม่ยาก เราสามารถขึ้นบนยอดเขาได้โดยการไปขึ้นรถบัสฟรีที่ Griffith Observatory รถจะมารับเราเป็นรอบๆ ทุกๆ 20 นาที แนะนำให้ไปวันธรรมดาเพราะวันหยุดคนจะเยอะมาก สามารถขึ้นไปได้ตลอดทั้งปี เปิดให้ขึ้นตั้งแต่เวลา 10:00 – 22:00 น. ในวันธรรมดา และ 12:00 – 22:00 น. ในวันเสาร์และอาทิตย์

Santa Monica
เป็นหนึ่งในเมืองชายหาดยอดนิยมที่สุดของลอสแอนเจลิสมาหลายทศวรรษ ซึ่งเหตุผลก็ไม่ยากเลยเมื่อเราดูจากบรรดาชายหาดที่มีชื่อเสียง ท่าเรืออันเป็นประวัติศาสตร์ อากาศที่ปลอดโปร่งตลอดทั้งปี และกลุ่มผู้คนทันสมัยที่ต่างมักพากันเข้าร้านกาแฟ ร้านเสื้อผ้า และบาร์ที่มีอยู่มากมาย หากต้องการความสนุกสนานอีกสักหน่อยให้ไปที่ Santa Monica Pier อันเก่าแก่ ซึ่งครอบครัวจะได้เพลิดเพลินไปกับสวนสนุกขนาดเล็กอย่าง Pacific Park นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์สัตว์นํ้าขนาดเล็ก ร้านค้า และย่านขายของอีกด้วย

Golden Gate Bridge
สะพานโกลเดนเกท สัญลักษณ์สำคัญของเมืองซานฟรานซิสโก มีลักษณะเป็นสะพานแขวนขนาดใหญ่ สีส้มโดดเด่น ทอดข้ามอ่าวซานฟรานซิสโก เพื่อเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองซานฟรานซิสโกกับเมืองมารีน เคาน์ตี (Marin County) มีความยาวทั้งหมดประมาณ 2.7 กิโลเมตร กว้าง 1.6 กิโลเมตร เปิดใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1937 ถือได้ว่าเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังสามารถเดินไปตามทางเดินริมสะพานได้ด้วย (ทางเดินเปิดตั้งแต่ 05.00 ถึง 18.30 น.) และทางสำหรับจักรยานเปิดให้ผ่านตลอดเวลา ซึ่งจะได้สัมผัสสะพานโกลเดนเกทได้อย่างใกล้ชิดที่สุด จุดเที่ยวชมอื่นๆที่น่าสนใจคือ Fort Point ตรงเชิงสะพานฝังใต้ มีปืนใหญ่จากยุคสงครามกลางเมือง และเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกันจัดแสดงให้ชม

Fisherman’s Wharf
ฟิชเชอร์แมนส์วอร์ฟตั้งอยู่ทางตอนเหนือของซานฟรานซิสโก เป็นท่าเรือประมงเก่าแก่ของซานฟรานซิสโกที่ในอดีตใช้ในการขนส่งอาหารทะเล ปัจจุบันได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวร้านอาหารทะเลจำนวนมากให้เราได้เลือกทาน ซึ่งร้านเด็ดร้านดังที่ห้ามพลาดนั้นมีหลายร้าน เช่น Scoma’s Restaurant, Franciscan Crab Restaurant, The Buena Vista เป็นต้น ใครอยากทานกุ้งล็อบสเตอร์ (Lobster) และปูดันเจเนสส์ (Dungeness crab) อาหารขึ้นชื่อของซานฟรานซิสโกก็สามารถหาทานได้จากร้านอาหารแทบทุกร้านในฟิชเชอร์แมนส์วอร์ฟเลย

Twin Peaks
เป็นจุดชมวิวเมืองซานฟรานซิสโกมุมสูงที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นยอดเขาตั้งอยู่กลางเมืองซานฟรานซิสโก สูงจากระดับนํ้าทะเลประมาณ 282 เมตร นักท่องเที่ยวมักจะไปชมวิวเมืองกันในช่วงวันหยุด และยามเย็น โดยเฉพาะตอนกลางคืน วิวที่นี่จะสวยงามมาก สามารถมองเห็นดาวมากมายที่อยู่เหนือเมืองซานฟรานซิสโก ใครมีเวลาบอกเลยว่าห้ามพลาดที่จะไปเที่ยวชมที่นี่
รายละเอียดข้อมูลวีซ่า
วีซ่านักเรียน F-1
เป็นวีซ่าหลักที่ออกให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาต่างชาติทีต้องการศึกษาต่อในระบบการศึกษาของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรภาษา ซึ่งบังคับต้องเรียนเต็มเวลาเท่านั้น
เงื่อนไขวีซ่าวีซ่านักเรียน
• เดินทางเข้า US ก่อนเริ่มคอร์สเรียนได้ไม่เกิน 30 วัน
• ต้องเรียนเต็มเวลา
• หลังเรียนจบอยู่ต่อได้ไม่เกิน 60 วันนับจากวันหมดอายุ I-20
• จะได้ 1 year แม้วีซ่าหมดแล้ว ก็อยู่ต่อได้ด้วย I-20 ที่ยังไม่หมดอายุ
• Multiple Entry ออกจาก US และขาดเรียนได้ไม่เกิน 5 เดือน หากเกินจะเสียสิทธิ์วีซ่า F-1 และต้องสมัครใหม่
• หากกลับไทยในช่วงที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ต้องต่ออายุวีซ่าที่ไทยก่อน


วีซ่า F-1ทำงานได้หรือไม่?
ทำงานได้เฉพาะนักเรียนหลักสูตรปริญญา นักเรียนภาษาทำงานไม่ได้ แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ On-campus Work, CPT, OPT และ OPT Extension
On-campus Work
คือการทำงาน part-time ในสถานศึกษาที่เรียนอยู่เท่านั้น
• ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำงานกับบริษัทอื่นได้
• ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับสาขาที่เรียน เช่น ทำงาน Starbucks ในมหาวิทยาลัย หรือในห้องสมุด
• สามารถเริ่มทำงานได้ตั้งแต่เดือนแรกที่เข้าไปเรียน
CPT (Curricular Practical Training)
คือการฝึกงานที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน งานที่สามารถทำได้ต้องตรงตามหลักสูตรที่ลงทะเบียน
• ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนในหลักสูตรของสถานศึกษามาแล้วอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
• เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยจะได้ I-20 หน้าที่ 2 ซึ่งจะมีข้อมูลของบริษัทที่จะฝึกงาน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าจะเปลี่ยนต้อง ทำเรื่องขอใหม่กับทางมหาวิทยาลัย
• ทำ CPT ได้ไม่เกิน 12 เดือน หากทำ CPT ครบแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิ์ฝึกงานหลังจบการศึกษา (OPT)ได้
OPT (Optional Practical Training)
สำหรับฝึกงานระหว่างเรียนแต่ไม่มีวิชา internship หรือ หลังจากเรียนจบปริญญา
โดยให้นักศึกษาแจ้งความจำนงในการฝึกงานกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อขอ I-20 ตัวใหม่ที่ระบุ OPT Recommendation แล้วส่งเอกสารพร้อม Form I-765 ทางไปรษณีย์ไปยัง U.S. Citizenship and Immigration Service เพื่อขอ Employment Authorization Card
1. Pre-Completion OPT
สำหรับนักศึกษาฝึกงานระหว่างเรียน สมัครได้ตั้งแต่จบการศึกษาปีที่ 1 แต่ไม่ต้องลงทะเบียนเหมือน CPT
• เทอม Fall/Spring ทำเป็น part-time (ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) เทอม Summer เลือกได้ว่าจะทำ part-time หรือ full-time
• เลือกวันเริ่ม – วันสุดท้ายของการฝึกงานได้เอง
• หากจะกลับไทยระหว่างนี้ต้องมี F-1 ที่ยังไม่หมดอายุ และ I-20 ที่เซ็นต์ไว้ไม่เกิน 12 เดือน
2. Post-Completion OPT
สำหรับนักศึกษาฝึกงานหลังเรียนจบแล้ว สมัครได้ตั้งแต่ 1-2 เดือนก่อนจบการศึกษา จะได้ EAD card (Employment Authorization Card คล้ายๆ work permit) 12 เดือน
• ทำแบบ full-time เท่านั้น และต้องรายงานกับมหาวิทยาลัยตลอด เช่น ได้งาน ออกจากงาน บริษัทเปลี่ยนที่อยู่ ต้องรายงาน ภายใน 10 วันหลังการเปลี่ยนแปลง
• เริ่มทำงานได้ตามวันที่ระบุไว้ใน EAD card นักศึกษาเป็นคนระบุวัน เอง
• ต้องหางานให้ได้ภายใน 90 วันหลังจากได้รับเอกสาร มิเช่นนั้นวีซ่านักเรียน จะ ถูกตัดทันที และห้ามว่างงานรวมกันเกิน 90 วัน
• หากจะกลับไทยระหว่างนี้ต้องมี F-1 ที่ยังไม่หมดอายุ และ I-20 ที่เซ็นต์ไว้ไม่เกิน 6 เดือน EAD card ที่ไม่หมดอายุ และ Job Verification จากบริษัท

OPT Extension
หากอยู่ครบ 12 เดือนแล้วได้อยู่ทำงานต่อ มี 2 กรณี คือ STEM และ Cap-Gap
1. STEM สำหรับนักศึกษาสาขา Science, Technology, Engineering และ Mathematics มีสิทธิ์ทำงานต่อได้อีก 24 เดือน
• ต้องเป็นนักเรียนที่จบจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองสถาบันศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่รับรองโดย SEVP (Student and Exchange Visitor Program) ด้วย
• ใช้ปริญญาใบเดิมในการต่อ และปริญญาใบที่ 2 สามารถต่อ STEM OPT ได้ถึง 2 ครั้ง
ข้อมูล STEM OPT Extension : https://studyinthestates.dhs.gov/stem-opt-extension-overview
2. Cap-Gap ช่วงรอยต่อระหว่างเปลี่ยนวีซ่าจาก F-1 เป็น H-1B (วีซ่าสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ) นายจ้างเป็นผู้เตรียมเอกสารยื่นคำร้อง เริ่มงานได้วันที่ 1 ตุลาคม หากวีซ่าของผู้สมัครหมดอายุก่อนวันที่ 1 ตุลาคม ต้องเดินทางออกนอก US และต่อวีซ่าที่ประเทศของตน ข้อมูล Cap-Gap : https://govisa.wordpress.com/tag/cap-gap/

วีซ่านักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยน J-1
วีซ่าประเภท J ของโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคคล ความรู้ และทักษะทั้งในด้านการศึกษา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้แก่ นักเรียนในทุกระดับการศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกงานภาคปฏิบัติตามบริษัท สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ โครงการที่นักเรียนไทยนิยม ได้แก่ Work and Travel, Au Pair และนักเรียนแลกเปลี่ยนระดับมัธยม
เงื่อนไขวีซ่านักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยน
• อายุ 15 – 18 ปี ณ วันแรกของการเปิดภาคเรียน
• อยู่กับ Host Family เท่านั้น ห้ามอยู่กับญาติ
• 1 Year Visa
• เข้า US ได้ก่อน 30 วันก่อนการเริ่มเรียนและอยู่ต่อได้อีก 30 วันหลังจากวันที่ระบุไว้ใน DS-2019*
• No Work ยกเว้นงานเล็กน้อย ที่ไม่ใช่ part-time เช่น ตัดหญ้าให้ข้างบ้าน หรือ babysitter
• หากได้เกรดต่ำกว่า C หรือไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ อาจถูกพิจารณาถอนวีซ่า
* DS-2019 เป็นเอกสารทางองค์กรที่อเมริกาออกให้แก่นักเรียนเพื่อขอวีซ่า และเปรียบเหมือนบัตรประจำตัวนักเรียน
วีซ่าท่องเที่ยวและธุรกิจ B-1/B-2
วีซ่าเยี่ยมเยียน B-1/B-2 เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกาชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (B-1) เพื่อพักผ่อน หรือเข้ารับการรักษาด้านการแพทย์ (B-2) โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าชนิด B-1 เป็นวีซ่าสำหรับผู้เดินทางที่ต้องติดต่อกับผู้ร่วมงาน ผู้เข้าประชุมเชิงวิทยาศาสตร์ การศึกษา อาชีพ และธุรกิจ การจัดการสินทรัพย์ หรือต่อรองสัญญา วีซ่าชนิด B-2 สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางเพื่อการพักผ่อน การท่องเที่ยว เยี่ยมเยียนเพื่อนฝูงหรือญาติ การรักษาด้านการแพทย์ และการเข้าร่วมงานการกุศล กิจกรรมเพื่อสังคม หรือกิจกรรมด้านการบริการ วีซ่า B-1 และ B-2 มักจะออกร่วมกันเป็นวีซ่าเดียว เป็นวีซ่าชนิด B-1/B-2
เงื่อนไขวีซ่าท่องเที่ยวและธุรกิจ
• Multiple Entry
• No Work
• 10 years Visa, maximum stay 6 months


13:00 - 17:00
Zoom Meeting