CV ที่ดีนั้นสามารถสร้างความประทับใจแรกในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยของคุณได้เลยทีเดียว วันนี้พี่ๆ IEC Aboad Thailand ได้รวบรวมข้อมูล วิธีการและเคล็ดลับในการ เขียน CV ที่คุณจำเป็นต้องรู้ มาฝาก ไปดูกันเลย!
CV คืออะไร และ ทำไมจึงสำคัญ?
curriculum vitae (CV) คือประวัติโดยย่อที่แสดงจุดเด่น ทักษะความสามารถ ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของคุณ
ในทุก ๆ ปีมหาวิทยาลัยชั้นนำจะเปิดรับนักศึกษาใหม่โดยการยื่น CV เท่านั้น การทำให้ CV ของคุณโดดเด่นและน่าสนใจก็เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้คุณผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำได้อย่างแน่นอน
CV และ resume ต่างกันอย่างไร?
CV มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็น resume อยู่บ่อยๆ เพราะสองสิ่งนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีข้อแตกต่างบางประการที่คุณควรรู้
• ปกติแล้ว resume จะมีความยาวเพียงหน้าเดียวเท่านั้น ในขณะที่ CV สามารถมีได้ตั้งแต่สองหน้าขึ้นไป
• CV มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในวิชาการซะส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีรายละเอียดที่ครบถ้วนเกี่ยวกับประวัติการศึกษา และ ประสบการณ์การทำงานของคุณทั้งหมด แต่ resume นั้นควรมีเฉพาะจุดเด่นและข้อมูลที่โดดเด่นที่สุด เนื่องจากใช้สำหรับสมัครงานอย่างเดียว
• บางประเทศตีความคำว่า CV และ resume เหมือนกัน เช่น ใน UK มักจะเรียก CV เป็นความหมายเดียวกันกับ resume
CV มีกี่ประเภท และอันไหนที่เหมาะกับคุณ?
วิธีการและเคล็ดลับในการเขียน CV นั้นคุณสามารถเลือกตามความชอบของคุณได้ เลย หลักๆแล้ว CV จะมี 4 ประเภท ได้แก่
• Reverse chronological
CV แบบเริ่มจากปัจจุบันแล้วค่อยๆไล่ย้อนไปอดีตตามลำดับเวลาเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด คุณควรระบุประวัติทางวิชาการและวิชาชีพของคุณ โดยเริ่มจากประสบการณ์ล่าสุดของคุณและไล่ไปเรื่อยๆ คุณควรระบุงานล่าสุดของคุณก่อนในส่วนประสบการณ์ของคุณและวุฒิการศึกษาล่าสุดในส่วนการศึกษาของคุณ
ลำดับโครงสร้างการเขียน: เริ่มจากข้อมูลส่วนบุคคล – ประวัติส่วนตัว – ประสบการณ์วิชาชีพ (แสดงตั้งแต่ล่าสุด) – วุฒิการศึกษา (แสดงจากล่าสุด) – ทักษะ
• Functional
CV ประเภทนี้จะเน้นไปที่ทักษะและผลงานของคุณ เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการเปลี่ยนสาขา/สายงาน หรือ ผู้ที่มีปัญหาในประวัติการศึกษาหรือการจ้างงาน พูดง่ายๆคือคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเขียนสิ่งเหล่านั้นได้ แต่การใช้รูปแบบนี้จะสามารถเปลี่ยนโฟกัสไปที่ทักษะที่คุณสามารถทำได้ดีแทน
ลำดับโครงสร้างการเขียน: เริ่มจากข้อมูลส่วนบุคคล – ประวัติส่วนตัว – ทักษะ – รางวัลและความสำเร็จ – ประสบการณ์วิชาชีพ – วุฒิการศึกษา
• Combination
CV ประเภทนี้เป็นลูกผสมของ Reverse chronological และ Functional คุณสามารถเน้นทักษะของคุณตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ CV ไปเรื่อยๆจนถึงคุณสมบัติทางการศึกษา ประสบการณ์วิชาชีพ และความสำเร็จของคุณตามแบบไล่ตั้งแต่ปัจจุบันไปอดีตตามลำดับเวลา
ลำดับโครงสร้างการเขียน: เริ่มจากข้อมูลส่วนบุคคล – ประวัติส่วนตัว – ทักษะ – ประสบการณ์วิชาชีพ (แสดงโดยเริ่มจากล่าสุด) – วุฒิการศึกษา (แสดงจากรายการล่าสุด)
• Non-traditional
ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ การเขียน CV แบบ Non-traditional จึงกลายเป็นสิ่งที่ทันสมัยและสามารถช่วยให้คุณโดดเด่นได้ CV แบบกราฟิกและอินโฟกราฟิกเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของประเภทนี้ รูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเนื่องจากคุณสามารถออกแบบและแสดงบุคลิกของคุณผ่าน CV ได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่สมัครหลักสูตรศิลปะ เช่น graphic design
ลำดับโครงสร้างการเขียน: ต้องครอบคลุมส่วนทั้งหมดที่กล่าวถึงในประเภทอื่น ๆ แต่คุณสามารถเล่นกับตำแหน่งและตำแหน่งได้
แม้ว่าความเป็นเอกลักษณ์และความคิดสร้างสรรค์ของประวัติย่อของคุณอาจจะสวยก็จริง แต่วัตถุประสงค์หลักของ CV คือ การแสดงให้เห็นถึงภูมิหลัง ผลงานและประสบการณ์ของคุณอย่างชัดเจน สำหรับมือใหม่ พี่ๆ IEC ขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเขียนแบบ Reverse chronological แล้วจึงค่อยๆปรับเปลี่ยนไปตามคามชอบของแต่ละคนได้เลย
สิ่งสำคัญ ควรพิจารณาประเภทของหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่คุณตั้งใจจะสมัครและเลือกประเภท CV ให้เหมาะสมกับสไตล์ของพวกเขา เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงยาวนาน ก็อาจจะต้องใช้ CV แบบ Reverse chronological ที่เป็นระเบียบและเข้าใจง่ายๆ
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการเขียนประวัติย่อของคุณ
ในส่วน Personal information:
ส่วนนี้เป็นส่วนที่ง่ายที่สุด เพียงเพิ่มชื่อเต็มของคุณพร้อมกับรายละเอียดการติดต่อของคุณเช่น อีเมล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย(หากต้องการระบุ) นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มลิงก์ไปยังเว็บไซต์ พอร์ตโฟลิโอ หรือ บล็อกของคุณก็ได้
DO!
• ระบุชื่อนามสกุลและที่อยู่ของคุณให้ถูกต้อง
• ให้ที่อยู่อีเมลที่คุณใช้เป็นประจำ
Don’t!
• พูดถึงบล็อก / เว็บไซต์ของคุณที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเลย
ในส่วนของ Personal profile:
โปรไฟล์ส่วนตัวมักจะเป็นเนื้อหาสั้น ๆ ที่พูดถึงประเด็นต่อไปนี้:
• คุณคือใคร?
• ทักษะและจุดแข็งที่เกี่ยวข้องมากที่สุดของคุณคืออะไร?
• คุณวางแผนจะทำอะไรให้สำเร็จจากการเรียนหลักสูตรนี้?
DO!
• เขียนให้สั้นและกระชับ โปรไฟล์ส่วนตัวประมาณสี่บรรทัดกำลังดี แต่อย่าให้เกินหกบรรทัด
Don’t!
• อย่าตั้งหัวข้อย่อยสำหรับ Personal profile เพราะโปรไฟล์ส่วนตัวจะอยู่ตรงส่วนใต้ของชื่อของคุณ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีหัวเรื่องย่อย
• พูดถึงทักษะหรือผลงานมากเกินไป อย่าลืมว่านี่ยังอยู่ในส่วนของโปรไฟล์ส่วนตัว ยังไม่ต้องเน้นไปที่ทักษะมากเกินไป
ในส่วน Work Experience:
ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่คุณใส่ชื่อบริษัท ระยะเวลาการจ้างงานและบทบาทและความรับผิดชอบของคุณ พร้อมกับผลงานหรือรางวัลที่คุณได้รับ ถ้าคุณเป็นเด็กจบใหม่และยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน คุณสามารถใส่การฝึกงานและงานพาร์ทไทม์ลงไปได้
DO!
• ใช้รูปแบบเดียวกันทั้งหมด การใช้รูปแบบที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความสับสน เข้าใจยาก
• สรุปรายการบทบาทและความรับผิดชอบของคุณให้สั้นและกระชับ คุณอาจมีงานหลายอย่างที่ต้องจัดการในที่ทำงาน แต่อย่าพูดถึงทุกอย่างและทำให้ CV ยุ่งเหยิง ใส่เพียงแค่ความรับผิดชอบหลักสามถึงสี่อย่าง
Don’t!
• ใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง มหาวิทยาลัยต่างๆจะตรวจสอบข้อมูลที่คุณให้มาทั้งหมด ดังนั้นอย่าโกหกเลย ไม่มีประโยชน์
ในส่วน Educational qualifications:
ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ ระบุประวัติการศึกษาของคุณตั้งแต่มัธยมปลายจนถึงปริญญาล่าสุดพร้อมชื่อมหาวิทยาลัย / สถาบันปีที่จบ และ GPA รวมถึงผลงานและรางวัล ที่คุณได้รับ
DO!
• ให้คำอธิบายสั้น ๆ หากคุณมีช่วงเวลาว่างระหว่างการทำงานและหลังเรียนจบ
Don’t!
• ใส่ผลงาน หรือ ความสำเร็จตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาหรือก่อนหน้านั้น
ในส่วน Skills & extra curriculars:
การเขียน CV ให้มีความหลากหลายและไม่เหมือนใครจะเพิ่มความโดดเด่นให้ตัวคุณเอง ดังนั้นการระบุทักษะที่สำคัญและประสบการณ์ของคุณที่เกี่ยวข้องกับสายงานมากที่สุดจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสนใจคุณได้อย่างแน่นอน
DO!
• ใช้เกณฑ์ที่ยอมรับระดับสากลในการให้คะแนนทักษะ ความสามารถของคุณ เพื่อทำให้ CV ของคุณดูน่าเชื่อถือมากขึ้น เช่น ความสามารถพิเศษในการเล่นเปียโน ระดับเกรด 5 (ตามการสอบของ ARBSM)
Don’t!
• ใส่ทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาลงไปใน CV จะทำให้ประวัติของคุณดูยุ่งเหยิง ไม่ตรงตามคุณสมบัติ
เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับ CV ของคุณ
• ตรวจสอบข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยก่อนที่คุณจะเริ่มเขียน CV เพราะบางแห่งมีข้อกำหนดที่คุณควรปฏิบัติตาม
• การใส่รายละเอียดพื้นฐานทั้งหมดใน CV เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เพื่อให้ดีคุณต้องเน้นประเด็นที่เหมาะกับหลักสูตรที่คุณสมัคร
• ตรวจสอบอย่างละเอียดว่าไม่ขาดตกบกพร่อง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์หรือการสะกดคำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CV
จะเขียน CV ให้ดูเป็นมืออาชีพได้อย่างไร?
การเขียน CV ให้เรียบง่ายและตรงประเด็นจะทำให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น นอกจากนี้การใช้บุรุษสรรพนามก็สามารถทำให้คุณดูเป็นมือ เช่น การใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 จะทำให้ CV ของคุณดูเป็นทางการมากขึ้น ในขณะที่การใช้คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่งจะให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวมากเกินไป
ความยาวของ CV คือเท่าไหร่?
สำหรับ CV นั้น ความยาวสองหน้าหรือประมาณ 800 ถึง 1,000 คำกำลังพอดี
CV รูปแบบที่ถูกต้องคืออะไร?
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการเขียน CV แต่มีหลักเกณฑ์บางประการที่คุณสามารถทำตามได้
• ใช้ขนาดตัวอักษรที่อ่านง่าย (10-12)
• ใช้แบบอักษรมาตรฐาน (Times new roman, Calibri)
• ใช้ตัวหนาและสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยได้ทุกที่ที่ต้องการ
• ใช้การจัดตำแหน่งที่ถูกต้อง
https://edvoy.com/articles/cv-structures-you-need-to-know-about-and-which-one-you-should-choose/