ติดต่อเรา:

ติดต่อเรา:

ไม่ไหว…จะหมอ!!

เตรียมตัว เรียนหมอที่ UK !!

เส้นทางสู่หมอในสหราชอาณาจักรนั้น อาจจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงมาก จะมีนักศึกษาต่างชาติสมัครเข้าเรียนต่อทางด้านแพทยศาสตร์จำนวนเกือบหมื่นคนในทุกๆปี แต่รับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนแพทย์เพียงปีละไม่ถึง 1 พันคน หรือไม่ถึง 10% ของผู้สมัครทั้งหมด เพราะฉะนั้น ผลการเรียนที่ดีเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เราไปถึงดวงดาวได้ หากแต่เราต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสม โดดเด่น และมีการเตรียมตัวที่ดี เพื่อกำจัดอุปสรรคและขวากหนามที่เราต้องเผชิญให้หมดไป พี่ๆ IEC Abroad ขอแนะนำเคล็ดลับเส้นทางสู่หมอให้กับน้องๆ ค่ะ ได้เวลา Shine bright like a diamond แล้วจ้า

1.เลือกยังไงดีคะ

น้องๆหลายคน คงกำลังมองหาโรงเรียนที่ดีเพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่า จะสามารถช่วยผลักดันให้เราสามารถเข้าเรียนแพทย์ได้อนาคต ซึ่งสิ่งนี้ มีความสำคัญอันแรกถูกต้องแล้วค่ะ แต่… นอกเหนือจากการเลือกโรงเรียนที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีแล้วนั้น วิชาเรียน (Subject) หลักสูตร (Qualification) และวิทยาเขต (Campus) ที่เหมาะสม ที่มุ่งเน้นเฉพาะทางการแพทย์ นอกจากนี้ ข้อมูลศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการเข้าเรียนแพทย์ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญที่ควรคำนึงก่อนการตัดสินใจค่ะ

คุณวุฒิพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเข้าเรียนแพทย์ น้องๆ ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ Year 13 จากหนึ่งในหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับ เช่น A-level, International Baccalaureate (IB) หรือ Foundation (Medicine pathway) เป็นต้น ส่วนหลักสูตรอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้ตามลิ้งค์นี้ค่ะhttps://digital.ucas.com/search/results?SearchText=Medicine&filters=Destination_Undergraduate&ProviderText=&SubjectText=&AutoSuggestType=&SearchType=searchbarbutton

สำหรับหลักสูตร A-level รายวิชาที่มหาวิทยาลัยต้องการพิจาณา (Required subjects) คือ Biology หรือ Chemistry และรายวิชาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา (Preferred subjects) อาจเป็นวิชา Mathematics, Biology, Chemistry หรือ Physics ค่ะ ส่วนหลักสูตร IB นั้น Higher Level Subject ต้องเป็นวิชา Biology และ Chemistry ส่วน Mathematics หรือ Physics สามารถเป็น Standard Level Subject หรือ Higher Level Subject ก็ได้ แต่เป็น Higher Level Subject ก็จะดีที่สุดค่ะ สำหรับ Foundation Medicine pathway จะเป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน Abbey DLD Colleges และ Kings Education ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรและสอบได้คะแนน 70-75% ขึ้นไป ในวิชา Biology และ Chemistry จะสามารถผ่านเข้าไปเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่เป็น Partner กับทางสถาบัน นั่นก็คือ Aston University และ University of Central Lancashire (UCLAN)

สำหรับบางสถาบัน จะมีที่ตั้งอยู่เพียงที่เดียวเท่านั้น แต่สำหรับบางสถาบัน จะมีหลายวิทยาเขตประจำอยู่ในแต่ละเมือง ซึ่งแต่ละวิทยาเขตนั้นๆ จะมีความเชี่ยวชาญและเน้นในสาขาวิชาที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงเปิดสอนใหนหลักสูตรที่แตกต่างออกไปเช่นกัน สำหรับสถาบันที่มีเพียงวิทยาเขตเดียว และเน้นสาขาวิการทางแพทย์ เช่น INTO Newton A-level Science and Medicine Programme และสำหรับสถาบันที่มีหลายวิทยาเขต เช่น Bellerbys Colleges มีทั้งหมด 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่เน้นด้านแพทย์ และมี Elite Medics programme ที่การันตีการได้เข้าสัมภาษณ์กับทาง Brighton and Sussex Medical School คือ Bellerbys College Brighton

2.เข้ามาเรียนแล้ว ทำยังไงต่อดีคะ

นอกจากตั้งใจเรียน เพื่อให้ได้ผลการเรียนที่ดีแล้วนั้น ไม่เพียงพอสำหรับการเข้าเรียนแพทย์ในสหราชอาณาจักรนะคะ น้องๆ ต้องสร้าง Profile ของตัวเองให้โดดเด่นเหนือผู้สมัครคนอื่นๆ ดังนี้ค่ะ

2.1 คะแนนภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลภาษาอังกฤษระดับ GCSE ที่ C หรือ 4 ขึ้นไป หรือคะแนนภาษาอังกฤษอื่นๆ เช่น IELTS 7.0-7.5 ขึ้นไปค่ะ น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมใช้คะแนนภาษาสูงจังเลย นั่นก็เป็นเพราะว่า เมื่อน้องๆต้องไปทำงานตรวจคนไข้จริงๆแล้ว น้องๆ ต้องสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถ้าน้องๆ ใช้ภาษาไม่คล่องแคล่ว และไม่ถูกต้อง เกิดความเข้าใจผิดกันขึ้นมาหละก็….แย่เลยยยยยย ในเรื่องของคะแนนภาษาอังกฤษนั้น น้องๆ ต้องหมั่นฝึกฝนนะคะ ทบทวนและทำข้อสอบบ่อยๆ 7.0 – 7.5 ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ

2.2 การสอบความถนัดทางด้านการแพทย์

หลักๆ ก็จะมี UKCAT และ BMAT นะคะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยค่ะ ว่าต้องการคะแนนสอบอะไรบ้าง เราไม่สามารถเลือกสอบเองได้นะคะ เนื่องจากผลสอบแต่ละประเภท ใช้แทนกันไม่ได้ค่า

2.2.1 The UK Clinical Aptitude Test (UKCAT) เป็นการทดสอบทางด้านคลินิกในสหราชอาณาจักร โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยทางด้านแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นการทดสอบทางออนไลน์ในด้านความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ การคิดวิเคราะห์ และเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการทดสอบเหตุผล 4 ข้อ และการทดสอบการตัดสินตามสถานการณ์

  • Verbal Reasoning การทดสอบเหตุผลทางวาจา เป็นการทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับข้อมูล และการหาเหตุผลสรุป โดยเนื้อหาจะมี 11 บทความ และมีคำถาม 44 ข้อ โดยจะใช้เวลา 21 นาที
  • Quantitative reasoning การทดสอบหาเหตุผลเชิงปริมาณ เป็นการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาด้านตัวเลขโดยมี 9 ตาราง แผนภูมิและกราฟ รวมทั้งหมด 36 คำถาม ใช้เวลา 24 นาที
  • Abstract reasoning การทดสอบหาเหตุผลเชิงอนุมาน เป็นการทดสอบความสามารถในการหาเหตุผลความสัมพันธ์ของข้อมูล รวมถึงความคิดเห็นพ้อง และความคิดแตกต่าง โดยจะมีทั้งหมด 55 คำถาม ใช้เวลา 13 นาที
  • Decision Analysis การวิเคราะห์การตัดสินใจ เป็นการประเมินความสามารถในการแก้ไขปัญหารูปในแบบต่างๆของข้อมูลเพื่อสรุปและตัดสิน อีกทั้งยังเป็นการตัดสินใจในการหาคำตอบที่เหมาะสมโดยมี 1 สถานการณ์ จำนวน 28 คำถาม (มีการคิดคำนวณพื้นฐาน) ใช้เวลา 32 นาที
  • Situational Judgement การพิจารณาสถานการณ์ เป็นการวัดและประเมินการตอบสนองของคุณต่อสถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมทางด้านการแพทย์ โดยมีทั้งหมด 67 คำถาม 20 สถานการณ์ ใช้เวลา 27 นาที

2.2.2 Biomedical Admission Test (BMAT) เป็นข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร การสอบ BMAT ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 ส่วน

  • ส่วนที่ 1 Aptitude and Skills ความถนัด และทักษะ คำถามจะเป็นแนว Understanding Argument ถามข้อสรุป หาจุดบกพร่อง (Flaw) หาข้อความที่จะมาสนับสนุน (Strengten) และหักล้าง (Weaken) หรือแนว Problem Solving มีทั้งแบบคิดและไม่คิดเลข หรือแนว Data analysis วิเคราะห์ข้อมูล กราฟ ตาราง ใช้เวลา 60 นาที 35 ข้อ (ข้อสอบปรนัย)
  • ส่วนที่ 2 Scientific Knowledge and Applications ความรู้ และการประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาตร์และคณิตศาสตร์ที่เรียนมาก่อนอายุ 16 ปี ใช้เวลา 30 นาที 27 ข้อ (ข้อสอบปรนัย)
  • ส่วนที่ 3 Writing Task งานเขียน เป็นการทดสอบความสามารถด้านการเลือก พัฒนา การจัดการทางด้านความคิด และการสื่อสารออกมาโดยการเขียนให้กระชับ และมีประสิทธิภาพ ใช้เวลา 30 นาที 1 ข้อ (ข้อสอบบรรยาย)

2.2.3 Graduate Medical School Admissions Test (GAMSAT) ประกอบด้วย 3 ส่วน

  • Humanities and Social Sciences ประกอบด้วยคำถาม 75 ข้อ ใช้เวลา 100 นาที
  • Essays assessing written communication ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
  • Physical science questions ประกอบด้วยคำถาม 110 ข้อ ใช้เวลา 170 นาที

2.2.4 Medical College Admission Test (MCAT) เป็นข้อสอบปรนัย หนึ่งชุดใช้เวลา 6 ชั่วโมง 15 นาที แบ่งเป็น 4 ส่วน โดย 3 ส่วนแรก เป็นการวัดความรู้พื้นฐานสำหรับการไปเรียนต่อแพทย์ ส่วนสุดท้ายเป็นการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และการให้เหตุผลโดยไม่ได้วัดความรู้พื้นฐานในวิชาสายวิทยาศาสตร์แบบ 3 ส่วนแรก

  • Chemical and Physical Foundations of Biological Systems เน้นการใช้ความรู้ด้านเคมีและฟิสิกส์ในการแก้ปัญหา ครอบคลุมความรู้วิทยาศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัยชั้นปี 1-2 ใช้เวลาทำ 95 นาที มีทั้งหมด 59 ข้อ ประกอบไปด้วยข้อความให้อ่าน 10 เรื่องและตอบคำถามจากข้อความเรื่องละ 4-6 ข้อ และคำถามต่างหากที่ถามความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข้อความอีก 15 ข้อ
  • Critical Analysis and Reasoning Skills เนื้อหาในส่วนนี้ไม่ต้องการความรู้เฉพาะทางพื้นฐาน แต่ถ้าเคยลงเรียนวิชาสายอักษรศาสตร์ในสมัยเรียนปริญญาตรีมาบ้างจะช่วยให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นข้อสอบวัดทักษะการอ่านและคิดวิเคราะห์ ใช้เวลาทำ 90 นาที มีทั้งหมด 53 ข้อ ประกอบไปด้วยข้อความ 9 เรื่อง แต่ละเรื่องจะมีคำถาม 5-7 ข้อ
  • Biological and Biochemical Foundations of Living Systems เนื้อหาในส่วนนี้เน้นการใช้ความรู้ด้านชีววิทยาและชีวเคมีในการแก้ปัญหา ครอบคลุมเนื้อหาระดับปริญญาตรีปี 1-2 เป็นหลัก ใช้เวลาทำ 95 นาที มีทั้งหมด 59 ข้อ ประกอบไปด้วยข้อความให้อ่าน 10 เรื่องและตอบคำถามจากข้อความเรื่องละ 4-6 ข้อ และคำถามต่างหากที่ถามความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข้อความอีก 15 ข้อ
  • Psychological, Social, and Biological Foundations of Behavior เนื้อหาในส่วนนี้เน้นการใช้ความรู้ด้านจิตวิทยา สังคมวิทยาและชีววิทยาในการแก้ปัญหา ครอบคลุมความรู้ชีววิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยาระดับปริญญาตรีปี 1-2 เป็นหลัก ใช้เวลาทำ 95 นาที มีทั้งหมด 59 ข้อ ประกอบไปด้วยข้อความให้อ่าน 10 เรื่องและตอบคำถามจากข้อความเรื่องละ 4-6 ข้อ และคำถามต่างหากที่ถามความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข้อความอีก 15 ข้อ
2.3 การฝึกงาน (Internship)

น้องๆที่มุ่งหวังเข้าเรียนแพทย์ในสหราชอาณาจักร การฝึกงานถือว่าสำคัญมากๆ ค่ะ ทุกคนต้องเคยไปฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ต้องการจะเรียนในมหาวิทยาลัย ส่วนจะได้รับค่าจ้าง หรือไม่ได้รับนั้น ขึ้นกับองค์กรที่เราไปฝึกงานค่ะ น้องๆ ควรใช้เวลาช่วงปิดเทอมในการฝึกงานในโรงพยาบาล ช่วยงานในบ้านพักคนชรา หรือการสังเกตการณ์การทำงานของหมอทั่วไป อาจะรวมถึง บ้านพักหรือสถานรับรองผู้ป่วย หรือสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจการทำงานด้านการบริการสุขภาพ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ค่ะ

3.จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้วค่ะ

การสมัครเรียนนั้น ทำสมัครออนไลน์ผ่านทาง UCAS ซึ่งเป็นระบบกลางสำหรับสมัครเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีของสหราชอาณาจักร นักเรียนจากทั่วโลกรวมถึงนักเรียนอังกฤษเอง ต้องทำสมัครผ่านระบบนี้เช่นกัน สำหรับน้องๆที่อยากเรียนหมอ เราต้องกระตือรือร้นและตื่นตัวในการยื่นสมัครมากกว่าคนอื่นๆนะคะ เพราะว่า application deadline ของเราจะหมดเขตเร็วกว่าสาขาอื่นๆค่ะ โดยมีระยะเวลาในการสมัครในช่วงพฤษภาคม – ตุลาคม ของปีการศึกษาก่อนหน้าที่เราจะเข้าเรียน เช่น น้องๆจะเข้าเรียนในปีการศึกษา September 2020 น้องๆต้องทำการสมัครเรียนให้เรียบร้อยภายใน October 2019 ค่ะ รายละเอียด Key dates ต่างๆในการสมัคร ตามลิ้งค์นี้ค่ะ https://www.ucas.com/advisers/managing-applications/application-deadlines

สำหรับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่เปิดสอนหลักสูตรแพทย์

University of Aberdeen

Anglia Ruskin University

Aston University

University of Birmingham

University of Brighton&Sussex

University of Bristol

University of Cambridge

Cardiff University

University of Central Lancashire

University of Dundee

University of East Anglia

University of Edinburgh

University of Exeter

University of Glasgow

Hull York Medical School

Imperial College London

Keele University

King’s College London

Lancaster University

University of Leeds

University of Leicester

University of Liverpool

University of Manchester

Newcastle University

University of Nottingham

University of Oxford

Plymouth University

Queen Mary, University of London

Queen’s University Belfast

University of Sheffield

University of Southampton

University of St Andrews

St George’s, University of London

Swansea University

University College London

University of Warwick

เอกสารที่ต้องใช้ในการทำสมัคร

  • Academic result นอกเหนือจาก Predicted grade ของ Year 13 แล้วนั้น บางมหาวิทยาลัยจะพิจารณารวมไปถึงเกรดเฉลี่ยในตอนเรียน GCSE/IGCSE ด้วยค่ะ
  • English proficiency คะแนน IELTS ที่ 7.0-7.5
  • คะแนนสอบความถนัดทางด้านการแพทย์ ส่วนจะเป็นข้อสอบใดบ้าง ขึ้นกับข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยค่ะ
  • Personal Statement สิ่งที่สำคัญไม่แพ้เอกสารอื่นๆ เลย คือ Personal Statement หรือเรียงความแนะนำตัวเอง ทางมหาวิทยาลัยจะดูความตั้งใจ ว่าทำไมเราอยากเรียนแพทย์ ที่สำคัญคือดู Work Experience หรือ Internship ด้วยว่าเคยฝึกงานทำงานทีไหนมาบ้าง
  • Recommendation Letter หรือจดหมายแนะนำจากครูที่โรงเรียน

การสัมภาษณ์

สิ่งที่พิเศษจากสาขาวิชาอื่นๆ คือ เมื่อผ่านการพิจารณาใบสมัครและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยแล้ว จะมีการสอบสัมภาษณ์เพิ่มเติม ก่อนสอบสัมภาษณ์นั้น แนะนำให้น้องๆ ทำความเข้าใจกับระบบ National Health Service (NHS) หรือระบบบริการสุขภาพของที่อังกฤษ แล้วก็ระบบ Modernising Medical Career Training เนื่องจากมีความแตกต่างกับประเทศไทยและอเมริกาค่อนข้างมาก รวมถึง Medical Ethics หรือพวกศีลธรรม จรรยาบรรณต่างๆ ของแพทย์ การตอบคำถามควรให้เป็นตัวของตัวเองมากที่สุดค่ะ เพราะผู้สัมภาษณ์อยากทราบว่า เราเหมาะที่จะเป็นนักเรียนแพทย์และเป็นแพทย์ที่ดีในอนาคตหรือไม่ ดูแรงจูงใจ บุคคลิกภาพ และประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา

4.ชีวิตนักศึกษาแพทย์ตัวน้อยในรั้วมหาวิทยาลัย

2 ปีแรก จะเป็น Pre-Clinical ค่ะ ก็จะเริ่มเรียนวิชาทางการแพทย์เลย วิชาที่เรียน เช่น สรีรวิทยา จริยธรรมทางการแพทย์ กายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมีทางการแพทย์ บางที่จะเริ่มให้นักศึกษาได้พบคนไข้ตั้งแต่ปีแรกเลย จะได้ไปเรียนรู้และพูดคุยกับคนไข้ ได้ฝึกเจาะเลือด วัดความดัน และอื่นๆ ซึ่งทำอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 4 (ชั้นปีที่นักศึกษาจะได้พบคนไข้ และความถี่ในการพบคนไข้นั้น ขึ้นกับแต่ละมหาวิทยาลัยค่ะ)

พอปี 3 จะเริ่มขึ้นชั้นคลินิกหรือที่เราเรียกว่า Ward ผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ะ ส่วนเนื้อหาที่เรียนนั้น จะเป็นเฉพาะทางมากขึ้น ทั้งศัลยศาสตร์ อายุรกรรมผิวหนัง เวชศาสตร์ฟื้นฟู หูตาคอจมูก กุมารเวชศาสตร์ และสูตินรีเวช เป็นต้น

ส่วนปี 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย จะเรียนเป็นวอร์ดคู่ คือ อายุรศาสตร์คู่กับศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์คู่กับสูตินรีเวช เวชกรรมทั่วไปคู่กับศิลปะการรักษาโรค ถ้าจะเข้าห้องผ่าตัด ก็ต้องเข้าไปกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือหมอที่ดูแล เราจะยังทำเองคนเดียวไม่ได้ เพราะที่นี่เรื่องประกันหรือค่าปรับนั้นสำคัญมาก หากมีอะไรพลาดไปหละก็ เรื่องใหญ่เลยค่ะ

5.เรียนจบ แต่ไม่จบ

หลังจบปริญญาตรีแล้ว ก็จะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MBBS และ MBChB) ค่ะ ซึ่งก็ยังไม่ได้เป็นหมอจริงๆ นะคะ ต้องเข้าร่วมหลักสูตร Foundation Programme Training ต่ออีก 2 ปี หลังจากนั้น จึงค่อยฝึกงานเฉพาะทางเพิ่มเติม ระยะเวลาแตกต่างกันไปตามสาขาที่เลือกค่ะ

ในการฝึกปีแรกเรียกว่า FY1 เราจะได้ใบอนุญาตวิชาชีพเวชกรรมแบบชั่วคราวจากแพทยสภาที่อังกฤษ ในช่วงนี้เราจะเลือกได้ว่าอยากทำสาขาไหนบ้าง เช่น เน้นงานวิจัย โรคข้อต่อ เนื้อเยื่อ หรือศัลยศาสตร์ทั่วไป เป็นต้น โดยเราจะได้ฝึกงานในทุก Ward หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปจนครบค่ะ พร้อมกันนี้ เราก็เก็บ Portfolio และประสบการณ์การทำงานไปด้วยค่ะ และเมื่อผ่าน FY1 ไปแล้ว เราจะได้ใบอนุญาตวิชาชีพเวชกรรมตัวจริงมาค่ะ

พอขึ้น FY2 ก็จะเป็นหมุนเวียนเปลี่ยน Ward ไปเช่นเคยค่ะ ซึ่งเราจะเริ่มรู้ตัวเองแล้วค่ะว่าอยากเรียนเฉพาะทางด้านใด และเมื่อจบการฝึกอบรม นักศึกษาแพทย์ต้องก้าวเข้าสู่การศึกษาในสาขาเฉพาะทางซึ่งมีการแข่งขันสูงไปอีกค่า ในช่วงฝึกงาน 2 ปีนี้ เราจะมีรายได้ด้วยนะคะ อยู่ที่ประมาณ 23,000 ปอนด์ต่อปี หรือมากกว่า ตามความสามารถของเราด้วยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าเข้าเวรด้วยก็จะได้เงินเพิ่มด้วยค่ะ เรียกว่า banding supplement ส่วนมากประมาณ 40-50% ของเงินเดือน

6.จบที่แพทย์เฉพาะทาง

แพทย์เฉพาะทางนั้น มีหลากหลายสาขามากๆ เลยค่ะ เช่น การวิจัยโรคมะเร็ง (Cancer Research), การวิจัยด้านชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Research), การวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience Research) หรือ สาขาแพทย์ศาสตร์ สำหรับผู้เปลี่ยนสาย (Conversion To Medicine) เป็นต้น ซึ่งน้องๆ ต้องลองค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่า ตนเองสนใจอยากทำวิจัยในสาขานั้นจริงๆ ก่อนนะคะ เพราะอะไรหนะเหรอ…..ก็เพราะว่า การสมัครเรียนแพทย์เฉพาะทางเนี่ย จะเป็น National Recruitment แบบ online ค่ะ เป็นการสมัครไปกับส่วนกลางของสหราชอาณาจักร และจะมีการเรียกสัมภาษณ์อีกครั้ง หากผ่านการสอบสัมภาษณ์ เราจะได้รับ Offer และต้องตัดสินใจภายใน 48 ชั่วโมงว่าจะตอบรับหรือไม่ หากไม่ตอบกลับภายในเวลานั้นก็ถือว่าสละสิทธิ์ค่ะ เพราะฉะนั้น น้องๆ ต้องแน่ใจแล้ว ว่าน้องๆ อยากเฉพาะทางในสาขานั้นๆ จริงๆค่ะ

เมื่อเราตอบรับแล้ว เราจะต้องเลือกว่า ต้องการอยู่ในพื้นที่ใดของสหราชอาณาจักร จากนั้นจะมีตัวแทนจากภูมิภาคนั้นๆ มาติดต่อกับเราโดยตรง พร้อมทั้งตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จากนั้น เราจะถูกเลือกว่าเราจะได้ไปทำงานโรงพยาบาลไหน

แล้วเราจะต้องฝึกฝนต่อกับคนไข้จริงในโรงพยาบาลอีกประมาณ 6 ปี จึงจะสามารถสอบเฉพาะทาง และได้รับ Certificate of Completion of Training (CCT) เพื่อนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการสอบเป็น Consultant หรือแพทย์เฉพาะทางที่มาช่วยสอนนักศึกษาแพทย์ที่ Ward คนไข้นั่นเองค่า นอกจากนี้ การจบหลักสูตร CCT จะถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับของหมอทั่วโลก สามารถไปทำงานที่ประเทศอื่นๆ ได้ทั่วโลก ไม่ว่าเป็น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือ ประเทศตะวันออกกลางค่ะ

จบครบถ้วนทุกกระบวนความสำหรับเส้นทางสู่การเป็นหมอในสหราชอาณาจักรแล้วค่า เป็นยังไงกันบ้างคะ กว่าจะเป็นหมอที่แท้ทรูได้นั้น ไม่งานเลยใช่มั้ยหละคะ ต้องมีความอดทน รับแรงกดดันรอบด้าน เรียนรู้และฝึกฝนอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม พี่ๆ IEC Abroad ขอเป็นกำลังใจให้นักศึกษาแพทย์และคุณหมอในอนาคตทุกคนค่ะ

บทความอื่นๆ

Scroll to Top