ติดต่อเรา:

ติดต่อเรา:

Study in USA

We have a university and a destination that is right for you.

ระบบการศึกษา

ในทุกๆปีนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเรียนต่อมัธยม
หรือระดับอุมศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเชื่อได้ว่า มีประสิทธิภาพสูงในอันดับต้นๆของโลก
ในระดับมหาวิทยาลัยมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากมาย เเละสถาบันการศึกษาที่น่าสนใจหลายเเห่ง โดยไม่จำกัดว่านักศึกษาที่ไปเรียน
จะต้องเป็นชาวอเมริกันเท่านั้น นักศึกษาสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนได้เพื่อให้ตรงกับสายงาน หรือสายอาชีพในอนาคตได้
ส่วนสาขาที่มีชื่อเสียงในอเมริกานั้นได้เเก่ สาขาการเเพทย์ สาขาเทคโนโลยี สาขาด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น

ภาคการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเเบ่งออกเป็น 3 ประเภท

Semester เป็นระบบที่มีมากที่สุด เเบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 3 ภาคการศึกษา
1. Fall Semester: ปลายเดือนสิงหาคม – กลางเดือนธันวาคม
2. Spring Semester: ต้นเดือนมกราคม – เดือนเมษายน
3. Summer Session: กลางเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม

Trimester ในหนึ่งปีเเบ่งเป็น 3 ภาคเรียน เเต่ละภาคเรียนยาวประมาณ 3 เดือน
เเบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 3 ภาคการศึกษา
1. First Trimester: เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
2. Second Trimester: เดือนมกราคม – เดือนเมษายน
3. Third Trimester: เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม

Quarter ในหนึ่งปีเเบ่งเป็น 4 ภาคเรียน เเต่ละภาคเรียนยาวประมาณ 10 สัปดาห์
เเบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 4 ภาคการศึกษา
1. Fall Quarter: เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
2. Winter Quarter: เดือนมกราคม – กลางเดือนมีนาคม
3. Spring Quarter: ต้นเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน
4. Summer Qaurter: กลางเดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม


ระดับมัธยมศึกษา (HIGH SCHOOL)

ระดับมัธยมศึกษาเเบ่งออกเป็น 2 ระดับ
1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: Grade 7 (เทียบเท่ากับไทยคือ ม.1) – Grade 8 (เทียบเท่ากับไทยคือ ม.2)
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: Grade 9 (เทียบเท่ากับไทยคือ ม.3) – Grade 12 (เทียบเท่ากับไทยคือ ม.6)

สำหรับนักเรียนต่างชาติที่เข้าไปเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมที่สหรัฐอเมริกานั้นส่วนใหญ่จะเข้าเรียนที่โรงเรียนเอกชน
(Boarding School) ส่วนนักเรียนไทยที่มาเรียนสหรัฐอเมริกาจะสำ เร็จชั้นม.3 เเล้วจึงเข้าเรียนต่อในชั้น
Grade 10 หรือ ม. 5 ที่สหรัฐอเมริกา

สำหรับวิชาพื้นฐานที่นักเรียนศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ได้เเก่ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา
เเละวิชาพละศึกษาในบางสถาบัน นอกจากนี้ยังมวิชาเลือกให้นักเรียนได้เลือกตามความสนใจอีกด้วย อย่างเช่น วิชาการเเสดง
คอมพิวเตอร์เเละเทคโนโลยี ธุรกิจการศึกษา วิชาศิลปะ เเละวิชาอื่นๆมากมาย

ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
การศึกษาระดับอุดมศึกษาเเบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. วิทยาลัยระบบ 2 ปี เเละวิทยาลัยชุมชน (Two-Year College and Community College)
2. วิทยาลัย (College)
3. มหาวิทยาลัย (University)
4. สถาบันทางวิชาชีพ (Professional School)

วิทยาลัยระบบ 2 ปี เเละวิทยาลัยชุมชน
(TWO-YEAR COLLEGE AND COMMUNITY COLLEGE)

สำหรับระดับนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ 2 หลักสูตร คือ
– Tranferable Programme หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรพื้นฐาน 2 ปีเเรกของระดับปริญญาตรี จากนั้นนักศึกษาสามารถโอนหน่อยกิตไปยัง
มหาวิทยาลัยรัฐ หรือเอกชนเพื่อศึกษาต่อในระดับปี 3 ได้
– Terminal/Vocation Track เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนเป็นเวลา 2 ปี เเละสำ เร็จการศึกษา นักศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญา
(Associate’sDegree) ในสาขาที่เลือกเรียน

วิทยาลัย (COLLEGE)

หลักสูตรนี้ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี ซึ่งวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเเบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
วิทยาลัยรัฐ (State College)
วิทยาลัยเอกชน (Private College)

มหาวิทยาลัย (UNIVERSITY)

1. ปริญญาตรี ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี
2. ปริญญาโท ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 1-2 ปี
3. ปริญญาเอก ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4-5 ปี

เเละมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. มหาวิทยาลัยรัฐ (State University)
2. มหาวิทยาลัยเอกชน (Private University)

สถาบันทางวิชาชีพ (PROFESSIONAL SCHOOL)

หลักสูตรนี้อาจมีระยะเวลาตั้งเเต่ 3-8 ปี โดยระยะเวลาเรียนจะขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เรียน สถาบันวิชาชีพให้การฝึกอบรมเฉพาะด้าน
ให้กับนักศึกษาต่างๆ อย่างเช่น แพทย์ศาสตร์ กฏหมาย เป็นต้น นักศึกษาจะสามารถเข้าเรียนต่อในสถาบันวิชาชีพได้
ก็ต่อเมื่อศึกษาจบปริญญาตรีมาเเล้ว

เอกสารโดยทั่วไปที่ใช้ในการสมัครเรียนระดับปริญญา

1. ใบสมัครที่ download จาก website ของมหาวิทยาลัย
2. ค่าธรรมเนียมการสมัครตามเเต่ละสถานศึกษาจะเรียกเก็บ
3. หลักฐานการศึกษา
4. จดหมายรับรองทางการเงินของผู้ปกครองจากสถาบันการเงิน
5. ผลสอบ TOEFL/IELTS
6. ผลสอบ SAT
7. ผลสอบ GRE หรือ GMAT (ปริญญาโท)
8. จดหมายเเนะนำ อย่างน้อย 3 ฉบับจากอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา (ปริญญาโท)
9. เรียงความประวัติส่วนตัวเเละเหตุผลการไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยจำนวน 300-500 คำ (ปริญญาโท)

Scroll to Top